ประเภทของการขึ้นรูปชิ้นส่วนยานยนต์

4641 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ประเภทของการขึ้นรูปชิ้นส่วนยานยนต์

ประเภทของการขึ้นรูปชิ้นส่วนยานยนต์
ทำความรู้จักเทคนิคการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่ควรรู้

     ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการผลิต และประกอบวัสดุชิ้นส่วนยานยนต์ ไม่ว่าจะเป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และแบตเตอรี่ ทั้งหมดทั้งมวลนี้โรงงานอุตสาหกรรมต้องพึ่งพานวัตกรรมใหม่ ๆ และแรงงานที่มีฝีมือ ซึ่งการพัฒนาฝีมือแรงงานเป็นสิ่งที่โรงงานต้องการสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน จำนวนช่างเทคนิคและนักวิจัย ก็เป็นกุญแจหลักไปสู่ความสำเร็จในการผลิตชิ้นส่วนใหม่ โดยคุณสมบัติหลักของบุคลากรในอุตสาหกรรมรถยนต์สมัยใหม่ คือ มีความรู้หลายศาสตร์ เนื่องจากชิ้นส่วนของรถยนต์มีความเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยไฟฟ้า หน่วยอิเล็กทรอนิกส์ และระบบควบคุม หากพิจารณาจากระดับความสามารถในการแข่งขัน และจำนวนของแรงงานที่มีฝีมือ ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยอยู่ในระดับปานกลางเมื่อเทียบกับภูมิภาค ขณะที่จำนวนนักวิจัย และช่างเทคนิคของไทยเพิ่มขึ้นช้าเมื่อเทียบกับประเทศที่มีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีใกล้กัน ประเทศที่เป็นผู้นำในด้านนี้คือ ญี่ปุ่น ในขณะที่เวียดนามมีการเร่งพัฒนาขีดความสามารถของแรงงานฝีมือเพื่อตอบสนองความต้องการในอนาคต

     ซึ่งปัจจุบันโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ หรือ ผลิตชิ้นส่วนโลหะชั้นนำของไทย ถือว่าเป็นสิ่งที่หาได้ยากถ้าต้องให้ 1 โรงงานเป็นเหมือน One Stop Service แต่ด้วยบริษัท สยาม เมทัล เวอร์ค แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ดำเนินธุรกิจ โรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ผลิตชิ้นส่วนโลหะ ชั้นนำของไทย มาตรฐานการรับรอง โดย ISO 9001 : 2015 IATF 16949 : 2016 และได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เราเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนโลหะรวมทั้งอุปกรณ์การผลิต Die, Jig ต่าง ๆ ตามแบบ และมาตรฐานที่ลูกค้ากำหนด อาทิ ชิ้นส่วนยานยนต์, ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า และชิ้นส่วนการเกษตร ด้วยประสบการณ์การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และผลิตชิ้นส่วนโลหะ มากกว่า 16 ปี บริษัทฯ ดำเนินการมุ่งตอบสนองสร้างความเชื่อมั่น และความพึ่งพอใจต่อลูกค้า ทำให้บริษัทเป็นที่ยอมรับและได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า ในกลุ่มลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งในด้านคุณภาพ การจัดส่ง บริการ เพื่อให้เป็นผู้ผลิต และส่งมอบชิ้นส่วนที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง โดยมีสินค้าบริการ ดังนี้

1. ปั๊มขึ้นรูป งานปั๊มขึ้นรูปโลหะ
ด้วยขนาดเครื่องปั๊มหลากหลายตามรูปแบบของชิ้นงาน งานปั๊มขึ้นรูปโลหะจึงมีขนาดของเครื่องปั๊มตั้งแต่ 25 ตัน ถึง 250 ตัน ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ รถจักรยานยนต์ และชิ้นส่วนไฟฟ้า เป็นหลัก วัสดุที่ใช้ผลิต ได้แก่ HPPC, SPHC, SAPH440, S45C, S50C, SK5, AL110, SUS304 ขนาดความหนาที่สามารถผลิตได้ตั้งแต่ 0.8-12 มิลลิเมตร โดย โลหะแผ่น หรือ Sheet Metal เป็นโลหะที่ถูกนิยามขึ้นตามลักษณะขอพื้นที่ผิวต่อความหนา หากความหนามีมากกว่า 6 มิลลิเมตร จะถูกเรียกว่าเพลท (Plate) ซึ่งโลหะแผ่นจะมีความแข็งแรงต่อน้ำหนักสูง ชิ้นส่วนที่ผลิตขึ้นจากโลหะแผ่นจึงมีน้ำหนักที่เบา แต่มีความแข็งแรง สำหรับขั้นตอนการขึ้นโลหะแผ่นจะมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนรูป (Deformation) ไม่ว่าจะเป็นการพับหรือการดัด (Bending) การปั๊ม (Stamping) การยืด (Stretching) หรือการขึ้นรูปแบบเย็น (Cold-working) ซึ่งจะใช้แผ่นแม่พิมพ์เป็นตัวช่วย และการใช้เครื่องกด (Press) แม่พิมพ์ที่ถูกนำมาใช้ จะเป็นตัวกำหนดการขึ้นรูปร่างของชิ้นงานว่าจะมีขนาดเท่าไหร่ภายหลังเสร็จสิ้น โดยจะประกอบด้วยตัวพั้นซ์ (Punch) หรือแม่พิมพ์ และดาย (Die)

เป็นแม่พิมพ์เช่นกันแต่เป็นตัวเมีย ให้เข้าใจง่าย ๆ คือ พั้นซ์จะอยู่ด้านบน ขนาดเล็กกว่าดาย รูปร่างจะคล้ายคลึงกัน และทำหน้าที่เป็นตัวกำหนดเคลื่อนที่เขาหาดาย หลังจากที่ทั้งสองประกบเข้าด้วยกันแล้ว จะเกิดช่องว่างขึ้นมา ส่วนของช่องว่างนี้เองจะถูกกำหนดโดยความหนาของแผ่นโลหะ ชนิด และวิธีการขึ้นรูป ในทุกกระบวนการที่กล่าวมาข้างต้น การปั๊มจะเป็นกระบวนการที่ดีที่สุดจากทั้งหมด มีข้อได้เปรียบที่เหนือกว่า ไม่ว่าจะเป็นการหล่อ (Casting) การทุบขึ้นรูป (Forging) และการกัดแต่ง (Machining) ซึ่งแบ่งข้อได้เปรียบออกเป็นดังนี้

  1. ช่วยให้การขึ้นรูปชิ้นงานที่ซับซ้อนได้ง่ายขึ้นกว่าวิธีอื่นๆ
  2. หลังปั๊มแล้วไม่จำเป็นต้องทำการตกแต่งชิ้นงานแต่อย่างใด
  3. ชิ้นงานที่ผ่านการปั๊มจะเท่ากันทุกชิ้น สังเกตได้จากการนำเอาชิ้นงานมาประกอบ
  4. มีความแข็งแรงเพิ่มมากขึ้น รวมถึงคุณสมบัติทางกลอื่นๆ
  5. ตัวชิ้นงานมีน้ำหนักเบามาก
  6. อัตราการสามารถทำได้ในปริมาณสูงในโรงงานปั๊ม

2. งานเชื่อม และประกอบ งานเชื่อม ประกอบชิ้นส่วนย่อยเข้าด้วยกัน
ด้วยหุ่นยนต์ที่ให้ประสิทธิผล ประสิทธิภาพ และคุณภาพ คงที่สม่ำเสมอ รวมทั้งกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานแนวเชื่อมทุกขั้นตอน และการควบคุมภายใต้ระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001 : 2015/ IATF 16949 : 2016 โดย การเชื่อมโลหะ (Welding) หมายถึง การต่อโลหะ 2 ชิ้น ให้ติดกัน โดยการให้ความร้อนแก่โลหะ จนหลอมละลาย ติดเป็นเนื้อเดียวกัน หรือการเติม ลวดเชื่อมเป็นตัวให้ประสานกันก็ได้ กรรมวิธีในการเชื่อมโลหะ ที่เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย มีดังต่อไปนี้
  1. การเชื่อมแก็ส (Gas Welding) การเชื่อมแก๊ส อาศัยความร้อนจากการเผาไหม้ ระหว่าง แก๊สเชื้อเพลิงอะเซทิลีน กับออกซิเจน หลอมละลายโรหาให้ติดกันด้วยการเติมลวดเชื่อม (Filler Metal or Welding rod) หรืออาจให้เนื้อโลหะหลอมละลายติดกันเอง โดยไม่เติมลวดเชื่อมก็ได้

  2. การเชื่อมไฟฟ้า (Arc Welding) เกิดจาก การนำความร้อนที่ใช้ในการเชื่อมจากการเกิดประกายอาร์ค ระหว่างชิ้นงาน และลวดเชื่อม จะทำให้ลวดเชื่อมหลอมละลายเสมือนเป็นการป้อนเนื้อโลหะให้แก่รอยเชื่อม

  3. การเชื่อมอัด (Press Welding) การเชื่อมอัด หมายถึง การประสานโลหะ 2 ชิ้นให้ติดกันโดยใช้ความร้อนกับชิ้นงาน ในบริเวณที่จะทำการเชื่อม จากนั้นใช้แรงอัดส่วนที่หลอมละลาย จนกระทั่งชิ้นงานติดกันเป็นจุด หรือเกิดแนวความร้อนที่ใช้ได้จากความต้านทานไฟฟ้า เช่น การเชื่อมจุด (Spot Welding) เป็นต้น

  4. การเชื่อม TIG (Tungsten Inert Gas Welding) เป็นวิธีการเชื่อมโลหะ โดยใช้ความร้อนที่เกิดจากการอาร์ค ระหว่างลวดทังสเตนกับชิ้นงาน โดยมีแก๊สเฉื่อยปกคลุมบริเวณเชื่อม และบ่อหลอมละลาย เพื่อไม่ให้บรรยากาศภายนอกเข้ามาทำปฏิกริยาตรงบริเวณที่เชื่อม

  5. การเชื่อม MIG (Metal Inert Gas Welding) การเชื่อม MIG เป็นกระบวนการเชื่อมที่ได้รับความร้อนจากการอาร์ค ระหว่างลวดเชื่อมกับชิ้นงาน ลวดเชื่อมที่ใช้ จะเป็นลวดเชื่อมเปลือย ที่ส่งป้อนอย่างต่อเนื่องไปยังบริเวณอาร์ค และทำหน้าที่เป็นโลหะเติมลงยังบ่อหลอมละลาย บริเวณบ่อหลอมละลาย จะถูกปกคลุมไปด้วยแก๊สเฉื่อย เพื่อไม่ให้เกิดการรวมตัวกับอากาศ

  6. การเชื่อมใต้ฟลักซ์ (Submerged Arc Welding) การเชื่อมใต้ฟลักซ์ เป็นกระบวนการเชื่อมไฟฟ้าที่ได้รับความร้อนจากการอาร์ค ระหว่างลวดเชื่อมเปลือย กับชิ้นงานเชื่อม โดยจะมีฟลักซ์ชนิดเม็ด (Granular Flux) ปกคลุมบริเวณอาร์คและฟลักซ์ ส่วนที่อยู่ใกล้กับเนื้อเชื่อม จะหลอมละลายปกคลุมเนื้อเชื่อม เพื่อป้องกันอากาศภายนอกทำปฏิกริยากับแนวเชื่อม ส่วนฟลักซ์ที่อยู่ห่างจากเนื้อเชื่อม จะไม่หลอมละลาย และไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก

 

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่

 

3. งานแมชชีน ด้วยเครื่อง CNC
สำหรับงานโลหะที่ต้องการค่าความละเอียด และแม่นยำสูง มีความรวดเร็วในการผลิตทำให้สามารถตอบสนองลูกค้าได้เป็นอย่างดี ในปัจจุบันมีการใช้งานแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์ในโรงงานผลิตกันอย่างแพร่หลาย นอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์หลักในการผลิตแม่พิมพ์แล้ว แมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์ก็ยังเป็นอุปกรณ์สำคัญในการขึ้นรูปชิ้นส่วนโลหะและส่วนประกอบต่าง ๆ อีกด้วย ตัวอย่าง เช่น แมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์ในอุตสาหกรรมยานยนต์นั้นจะใช้สำหรับการเจียรผิว และเจาะชิ้นส่วนเครื่องยนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการผลิตแม่พิมพ์สำหรับสร้างชิ้นส่วนตัวถัง ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อีกจำนวนมากที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และในโรงงานอุตสาหกรรมล้วนแต่ผลิตมาจากแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์ทั้งนั้น

รวมถึงแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์มีฟังก์ชันการเปลี่ยนเครื่องมืออัตโนมัติด้วยคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปแล้ว ผู้ปฏิบัติงานจะต้องเปลี่ยนเครื่องมือบนเครื่อง NC แต่แมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์จะมีแขนกลสำหรับเปลี่ยนเครื่องมือจากคลังเครื่องมือโดยอัตโนมัติระหว่างการขึ้นรูปชิ้นงาน ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาและแรงงานในการเปลี่ยนเครื่องมือแบบเดิมๆ อีกทั้งยังช่วยการทำงานเป็นไปโดยอัตโนมัติ ประหยัดพลังงาน และต้นทุนลดลงอีกด้วย ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์แบบห้าแกนซึ่งเพิ่มแกนแบบหมุนได้ขึ้นมาอีกสองแกน จากแบบทั่วไปที่มีเพียงสามแกน ซึ่งจะช่วยให้สร้างรูปร่างที่มีความซับซ้อนได้มากขึ้น

4. งานเจียรนัย งานเจียรนัยราบ
สำหรับชิ้นส่วนยานยนต์ และชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ด้วยขนาดของโต๊ะเจียรนัยขนาดใหญ่ซึ่ง มีขนาดถึง 500 x 1200 มิลลิเมตร และสามารถเจียรนัยผิวงานได้ละเอียดสูงสุดถึง 5 ไมครอน การเจียระไนจึงเป็นการแปรรูปวัสดุด้วยการขัดสีด้วยคมตัดที่เป็นวัสดุแข็งที่ถูกยึดให้ติดกันด้วยตัวยึด และขึ้นรูปเป็นฟอร์มต่างๆ ซึ่งเรียนว่า หินเจียระไน การเจียระไนด้วยหินเจียระไนสามารถกระทำได้หลายแบบ คือ การเจียระไนราบ (Surface Grinding) การเจียระไนกลม (Cylindrical Grinding) และการเจียระไนไร้ศูนย์ (Centerless Grinding) เป็นต้น

ดังนั้นเรา บริษัท สยาม เมทัล เวอร์ค แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจ โรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ผลิตชิ้นส่วนโลหะ ชั้นนำของไทย และมีมาตรฐานการรับรอง รวมถึงได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ด้วยประสบการณ์การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และผลิตชิ้นส่วนโลหะ DIE และ jig ตามแบบ Drawing ปั๊มโลหะตามแบบ ปั๊มขึ้นรูปโลหะ ปั๊มเหล็ก ปั๊มโลหะ ชิ้นส่วนโลหะ ชิ้นงานโลหะ มากกว่า 16 ปี บริษัทฯ ดำเนินการมุ่งตอบสนองสร้างความเชื่อมั่น และความพึ่งพอใจต่อลูกค้า ทำให้บริษัทเป็นที่ยอมรับ และได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าทั้งในประเทศ และต่างประเทศ รวมถึงบริษัทฯ ยึดมั่นในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าทั้งในด้านคุณภาพ การจัดส่ง และบริการพร้อมทั้งมีการปรับปรุงระบบบริหารคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

ดูรายละเอียดสินค้าและบริการ รวมถึงเครื่องจักรของเรา ได้ที่นี่ 
ติดต่อ บริษัท สยาม เมทัล เวอร์ค แมนูแฟคเจอริ่ง
โทร : 02-1166303
อีเมล : info@siammetalwork.com

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้