เครื่องตัดโลหะและวิธีการเเยกวัสดุโลหะชนิดต่าง ๆ

5448 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เครื่องตัดโลหะ

เครื่องตัดโลหะและวิธีการเเยกวัสดุโลหะชนิดต่าง ๆ

ทำความรู้จักกับประเภทของเครื่องตัดโลหะ และโลหะประเภทต่าง ๆ 

     มนุษย์เรารู้จักการนำเอาแร่ธาตุสำคัญอย่าง "โลหะ” อย่างเช่น เหล็ก อะลูมิเนียม ทองแดง ดีบุก สังกะสี เป็นต้น มาประยุกต์ใช้งานเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตมาอย่างช้านาน ทั้งในด้านของการนำโลหะมาทำเป็นเครื่องไม้เครื่องมือสำหรับการเกษตรกรรม การล่าสัตว์ และการสร้างที่อยู่อาศัย รวมไปถึงการนำเอาโลหะมาใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในอุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่างเช่น อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ (Automotive parts) ผลิตชิ้นส่วนโลหะ อุตสาหกรรมการบินและอวกาศ และอุตสาหกรรมการก่อสร้าง เป็นต้น

ส่งผลให้ในปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางด้านโลหะกรรม (Metallurgy) จึงถูกนำมาศึกษาและพัฒนาต่อยอดต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง เพราะองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์เหล่านี้ คือสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถทำการวางแผนเพื่อต่อยอดจากการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิต ไปสู่การลงทุนในอุตสาหกรรมการแปรรูปโลหะ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องตัดโลหะ หรือโรงงานปั๊มโลหะ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผลผลิตที่ได้จากโลหะทุกชิ้นนั้นมีคุณภาพที่ดีและมีความคุ้มค่าในการนำมาใช้งานมากที่สุด
 

ทำความรู้จักกับประเภทของเครื่องตัดโลหะ

     เครื่องตัดโลหะและชิ้นส่วนโลหะ เป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่สำคัญในการช่วยตัดหรือเฉือนชิ้นงานโลหะให้มีขนาดหรือรูปแบบตรงตามที่เราต้องการ เพื่อการนำมาต่อยอดใช้งานในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ผลิตชิ้นส่วนโลหะ และอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย โดยในปัจจุบันนี้เครื่องตัดโลหะนั้นก็ได้ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้สอดคล้องกับการนำมาใช้งานทั้งภายในภาคอุตสาหกรรมและภาคครัวเรือนมากยิ่งขึ้น

โดยเครื่องตัดโลหะและชิ้นส่วนโลหะที่มีวางจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดในขณะนี้จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่

  1. เครื่องตัดโลหะด้วยแก๊สออกซิเจน (Oxygen Cutting) เป็นเครื่องที่เหมาะสำหรับการนำมาใช้ตัดโลหะหรือชิ้นส่วนโลหะที่สามารถหลอมละลายได้เมื่อได้รับอุณหภูมิสูง โดยทั่วไปแล้วเครื่องตัดโลหะได้แก๊สออกซิเจนจะนิยมนำมาใช้ในงานตัดที่มีรูปร่างซับซ้อนและต้องการความแม่นยำสูง รวมไปถึงนิยมนำมาใช้เพื่อการเตรียมขอบของแผ่นโลหะ หรือการเซาะร่องสำหรับการเชื่อม แต่อย่างไรก็ตามเครื่องตัดโลหะด้วยแก๊สออกซิเจนนั้นก็มีข้อจำกัดสำหรับการตัดชิ้นส่วนโลหะบางประเภท อย่างเช่น เหล็กกล้า หรือเหล็กหล่อ เป็นต้น

  2. เครื่องตัดโลหะด้วยพลาสม่า (Plasma Cutting) เป็นเครื่องตัดโลหะและชิ้นส่วนโลหะที่ถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลายในหลากหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เนื่องจากเครื่องตัดโลหะด้วยพลาสม่าสามารถทำการตัดแผ่นโลหะทั้งแบบบาง และแบบหนาที่มีความหนาสูงสุดที่ 160-180 มม. สำหรับการตัดแบบแห้ง และ 120 มม. สำหรับการตัดใต้น้ำ ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ รวมถึงยังมีต้นทุนที่ค่อนข้างต่ำอีกด้วย

  3. เครื่องกลึง CNC (Computer Numerical Control) เป็นเครื่องมือสำหรับตัดโลหะและชิ้นส่วนโลหะที่ถูกควบคุมการทำงานผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ส่งผลให้ชิ้นงานตัดโลหะทุกชิ้นที่ได้ออกมาจากเครื่องกลึง CNC นั้นจึงมีความละเอียดและแม่นยำสูง ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเครื่องกลึง CNC มักจะถูกนำมาใช้ในงานเจาะโลหะหรือชิ้นส่วนโลหะในปริมาณมาก (Mass Production) ที่จำเป็นจะต้องควบคุมให้ชิ้นงานทุกชิ้นมีมาตรฐานและคุณภาพเดียวกัน อย่างเช่น งานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ หรืองานผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น

  4. เครื่องตัดเลเซอร์ (Laser Cutting) เป็นเครื่องตัดโลหะและชิ้นส่วนโลหะที่ถือได้ว่ามีประสิทธิภาพในการทำงานที่สูงที่สุด และได้รับความนิยมมากที่สุดในบรรดาเครื่องตัดโลหะทั้งหมด เนื่องจากเครื่องตัดเลเซอร์สามารถนำมาใช้ในการตัดชิ้นส่วนโลหะที่มีความสลับซับซ้อนได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ โดยเครื่องตัดเลเซอร์ที่นิยมนำมาใช้ในการตัดโลหะและชิ้นส่วนโลหะจะมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 2 ประเภท ได้แก่ 
     
    • เครื่องตัดเลเซอร์ CO2 Laser เป็นเครื่องตัดเลเซอร์ที่นิยมใช้งานมากที่สุดเนื่องจากสามารถตัดชิ้นงานที่มีความหนาได้อย่างหลากหลายตั้งแต่ความหนา 0.5 มม. ไปจนถึง 15 มม.
    • เครื่องตัดเลเซอร์ Fiber Laser เป็นเครื่องตัดเลเซอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงที่สุด จึงทำให้สามารถนำมาใช้ในงานแกะสลัก หรือการยิงเครื่องหมายต่าง ๆ บนโลหะ รวมถึงสามารถนำมาตัดโลหะหรือชิ้นส่วนโลหะที่มีความหนามาก ๆ ได้

  5. เครื่องตัดโลหะวอเตอร์เจ็ท (Waterjet Cutting) เป็นเทคนิคการตัดโลหะที่ใช้น้ำแรงดันสูงเป็นเครื่องมือในการใช้ตัดโลหะหรือชิ้นส่วนโลหะ ส่งผลให้ในกระบวนการตัดโลหะและชิ้นส่วนโลหะนั้นจึงไม่มีความร้อนเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นแล้วชิ้นงานที่ได้จากเครื่องตัดโลหะวอเตอร์เจ็ททุกชิ้นจึงเป็นชิ้นงานที่มีความละเอียดแม่นยำสูง รวมถึงยังเป็นชิ้นงานที่มีคุณภาพของขอบตัดที่เรียบเนียนและสวยงามมากอีกด้วย
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่


ประเภทและวิธีการแยกวัสดุโลหะชนิดต่าง ๆ

     หลังจากที่ได้มีการทำความรู้จักกับเครื่องตัดโลหะและชิ้นส่วนโลหะ ชิ้นงานโลหะแต่ละประเภทไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เรื่องของประเภทและวิธีการแยกวัสดุโลหะชนิดต่าง ๆ ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เจ้าของธุรกิจและผู้ประกอบการทุกคนควรให้ความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะประเภทของวัสดุโลหะและชิ้นส่วนโลหะที่แตกต่างกันนั้นย่อมส่งผลต่อการมีรูปแบบและลักษณะในการตัดโลหะที่แตกต่างกันออกไปด้วยเช่นกัน

โดยวัสดุโลหะที่ได้มาตรฐาน ISO นั้นจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่

  1. เหล็ก (P) เป็นแร่ธาตุในกลุ่มโลหะที่ได้รับความนิยมในการนำมาใช้งานในหลากหลายอุตสาหกรรมมากที่สุด เนื่องจากเหล็กเป็นวัสดุที่มีความแข็งแรง ทนทานและยืดหยุ่นสูง จึงทำให้เหล็กสามารถนำมาใช้ในการผลิตขึ้นรูปเป็น ชิ้นส่วนยานยนต์ (Automotive parts) ชิ้นส่วนเครื่องจักร อุปกรณ์ทางการแพทย์ อุปกรณ์ก่อสร้าง รวมถึงเฟอร์นิเจอร์และบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้อย่างหลากหลาย

  2. ‍สแตนเลสสตีล (M) หรือ เหล็กกล้าไร้สนิมเป็นโลหะผสม (Alloy) ที่มีส่วนประกอบหลักของเหล็ก โครเมียม และมีแร่ธาตุอื่น ๆ อย่างเช่น นิกเกิล แมงกานีส หรือ หรือโมลิบดีนัม เป็นต้น ผสมอยู่ในปริมาณที่แตกต่างกัน เพื่อเป็นการช่วยเพิ่มคุณสมบัติให้สแตนเลสสตีลมีความแข็งแรงและทนทานต่อความชื้นและการกัดกร่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยส่วนใหญ่แล้วแต่สแตนเลสสตีลมักนิยมนำมาใช้ผลิตขึ้นรูปเป็นอุปกรณ์ท่อ อุปกรณ์เรือ หน้าแปลน รวมถึงยังถูกนำมาผลิตเป็นอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อใช้งานในอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมสารเคมี อุตสาหกรรมการแปรรูป และอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ เป็นต้น‍

  3. เหล็กชุบแข็ง (H) เป็นเหล็กที่ถูกนำมาอบชุบด้วยความร้อน เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติของเหล็กให้มีความแข็งแรง ทนทานต่อการกัดกร่อนและการเสียดสี และช่วยยืดอายุการใช้งานของเหล็กออกไปได้อย่างยาวนานมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เหมาะสำหรับการนำมาผลิตเป็นชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนอากาศยาน ชิ้นส่วนเครื่องจักร หรือแม่พิมพ์ต่าง ๆ เป็นต้น

  4. เหล็กหล่อ (K) เป็นเหล็กที่มีส่วนผสมของคาร์บอนอยู่ในปริมาณที่ค่อนข้างมาก จึงทำให้มีความเปราะมากกว่าเหล็กกล้าทั่ว ๆ ไป ส่งผลให้เหล็กหล่อส่วนใหญ่จึงมักจะถูกนำมาชุบด้วยสังกะสีเพื่อเป็นการช่วยเพิ่มความแข็งแรงทนทานที่มากยิ่งขึ้น โดยในปัจจุบันนี้เหล็กหล่อถูกนำมาใช้งานในหลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นการผลิตเครื่องจักร การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ รวมถึงการขึ้นรูปเป็นท่อร้อยสายไฟ วาล์วน้ำ ท่อระบายน้ำ และโครงเหล็กขึ้นรูปต่าง ๆ

  5. อโลหะ (N) เป็นอีกหนึ่งวัสดุที่มีความสำคัญสำหรับงานอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ เป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตามคุณสมบัติของอโลหะมักจะมีความแตกต่างไปจากคุณสมบัติของโลหะอย่างสิ้นเชิง ส่งผลให้การนำเอาอโลหะมาใช้งานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ จึงยังคงมีข้อจำกัดอยู่ค่อนข้างมาก ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วอโลหะมักจะถูกนำมาใช้งานในอุตสาหกรรมการบิน และอุตสาหกรรมผลิตล้ออะลูมิเนียมอัลลอยด์ เป็นต้น‍

  6. โลหะผสมทนความร้อน (S) เป็นโลหะผสมชนิดพิเศษที่เกิดขึ้นจากนำเอาเหล็กมาผสมเข้านิกเกิลและโคบอลที่มีคุณสมบัติในการทนทานต่อความร้อนสูงได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้โลหะผสมทนความร้อนจึงสามารถนำมาใช้งานในอุตสาหกรรมที่มีความร้อนสูง อย่างเช่น อุตสาหกรรมการบิน อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า และโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซ เป็นต้น ได้โดยที่ไม่เกิดการเสียรูป

     การตัดโลหะมีรายละเอียดที่จำเป็นจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจมากมายทั้งในเรื่องของประเภทของเครื่องตัดโลหะ และประเภทของโลหะที่จะนำมาเข้าเครื่องตัด เพราะฉะนั้นแล้วการเลือกบริษัทและโรงงานผู้ให้บริการผลิตชิ้นงานตัดโลหะที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญในการทำงานอย่างแท้จริง จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ หรือชิ้นส่วนโลหะสำหรับอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีคุณภาพที่ดีตรงตามมาตรฐานที่ได้วางเอาไว้

หากคุณกำลังมองหาโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ (Automotive parts) ที่ได้มาตรฐาน ให้บริษัท สยาม เมทัล เวอร์ค แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด เป็นผู้ดูแลคุณ เพราะเราคือโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และโรงงานปั๊มโลหะ ปั๊มโลหะตามแบบ ปั๊มขึ้นรูปโลหะ ปั๊มเหล็ก ปั๊มโลหะ ชิ้นส่วนโลหะ ชิ้นงานโลหะชั้นนำของประเทศไทย ที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และชิ้นส่วนโลหะมากกว่า 16 ปี ด้วยมาตรฐานการรับรอง โดย ISO 9001 : 2015 IATF 16949 : 2016 ที่ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศมาอย่างต่อเนื่อง 
 

ดูรายละเอียดสินค้าและบริการ รวมถึงเครื่องจักรของเรา ได้ที่นี่ 
ติดต่อ บริษัท สยาม เมทัล เวอร์ค แมนูแฟคเจอริ่ง
โทร : 02-1166303
อีเมล : info@siammetalwork.com

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้