เครื่องกลึง CNC คืออะไร เหมาะกับการผลิตสินค้าลักษณะใด (ภาค2)

7850 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เครื่องกลึง CNC

เครื่องกลึง CNC คืออะไร เหมาะกับการผลิตสินค้าลักษณะใด (ภาค2)

ประเภทของเครื่อง CNC มีอะไรบ้าง?

          ในบทความที่แล้ว เครื่องกลึง CNC คืออะไร มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร (ภาค1) เราได้กล่าวถึงความหมาย หลักการทำงาน รวมถึงประโยชน์และข้อดีต่างๆ ของเครื่องกลึงชนิดนี้กันไปแล้ว ซึ่งในบทความนี้ที่เป็นภาคต่อที่จะขอนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อะไรบ้างที่ถูกผลิตจากเครื่องกลึงชนิดนี้ นั่นเอง อย่างที่เราได้กล่าวไปในบทความที่แล้วว่า CNC ย่อมาจากคำว่า Computer Numerical Control แปลให้เข้าใจง่ายๆ ได้ว่า “ควบคุมโดยคอมพิวเตอร์” ซึ่งนอกจาก เครื่องกลึง CNC ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเจียร, เครื่องมิลลิ่ง เครื่องไวร์คัท หรือเครื่องตัดพับโลหะแผ่น หากควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์แล้วก็สามารถเรียกว่าเครื่องจักร CNC ได้ทั้งหมด ฉะนั้นก่อนที่เราจะมาในบทความนี้เรามาทำความรู้จักกับเครื่อง CNC ประเภทต่างๆ เพิ่มเติมกันดีกว่า

 

ประเภทของเครื่อง CNC มีอะไรบ้าง?

  1. เครื่องกลึง CNC (CNC Machine Lathe) สำหรับงานกลึงที่มีรูปทรงกระบอก 2 มิติ เหมาะสำหรับงานที่มีความซับซ้อนสูง ความละเอียดในการควบคุมได้มากถึง 0.001 mm. อีกทั้งยังสามารถควบคุมเครื่องกลึงได้หลายเครื่องในคราวเดียว ทำให้สามารถผลิตชิ้นงานได้จำนวนเยอะๆ ในเวลาที่รวดเร็ว

  2. เครื่องกัด CNC (CNC Milling Machine) สำหรับการกัดชิ้นงาน 3 มิติ ซึ่งสามารถกำหนดทิศทางการเคลื่อนที่ของหัวกัดได้หลายทิศทางมากกว่าเครื่องกัดแบบดั้งเดิม ทำให้สามารถผลิตชิ้นงานที่เป็นรูปแบบเฉพาะเจาะจงได้ตามความต้องการ โดยวัสดุที่เหมาะกับการใช้เครื่องกัด CNC มีหลากหลายไม่ว่าจะเป็น เหล็ก พลาสติก แก้วและไม้ เป็นต้น

  3. เครื่องซีเอนซีอีดีเอ็ม CNC EDM (CNC Electrical Discharge Machine หรือ EDM) ซึ่งเครื่อง EDM คือเครื่องกัดเนื้อโลหะด้วยหลักการทำงานของกระแสไฟฟ้ามีความต่างศักย์สูง โดยการปล่อยให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านวัสดุที่เป็นโลหะสองชิ้น จนทำให้เนื้อโลหะถูกกัดเซาะตามแบบที่กำหนดไว้จนได้รูปร่างชิ้นงานตามต้องการ ซึ่งเครื่องCNC EDM นั้น เหมาะสำหรับกัดชิ้นงาน 3 มิติ โดยใช้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านอิเล็คโทรดเพื่อทำการขึ้นรูปชิ้นงานให้ได้ตามแบบที่กำหนด ซึ่งการผลิตอิเล็กโทรดนั้นจะทำด้วยกระบวนการ CNC

  4. เครื่องเจียระไน CNC (CNC Grinding Machine) ใช้สำหรับงานเจียระไนให้ได้ผิวงานละเอียด เรียบมันวาว ซึ่งสามารถแบ่งตามลักษณะของการเจียรได้ดังนี้ การเจียระไนราบ (Surface Grinding) การเจียระไนกลม (Cylindrical Grinding) และการลับคมตัดชนิดต่างๆ

  5. ตัดแผ่นโลหะ CNC (CNC Sheet Metal Cutting) สำหรับตัดแผ่นโลหะตามรูปแบบที่เราต้องการ เหมาะสำหรับชิ้นงานที่ไม่หนามาก ซึ่งในปัจจุบันการตัดโลหะแบบแผ่น มีวิธีการตัดได้หลายรูปแบบ เช่นการตัดโลหะด้วยเลื่อย (Saw Cutting), การตัดด้วยเครื่องเลเซอร์ (Laser Cutting), การตัดด้วยแก๊ส (Gas Cutting), และการตัดด้วยเครื่องตัดพลาสม่า (Plasma Cutting Machine) ซึ่งเครื่องตัดชนิดนี้เองที่มีการพัฒนาให้เป็นเครื่องตัดพลาสม่าซีเอ็นซี (Plasma Cutting CNC Machine) ที่ควบคุมการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ สามารถตัดชิ้นงานโลหะได้หลากหลายรูปแบบและมีความซับซ้อนมากหรือต้องการตัดชิ้นงานแบบเดียวกันเป็นจำนวนมาก

  6. เครื่องเจาะ CNC (CNC Drilling Machine) เหมาะสำหรับเจาะรูกลมและทำเกลียวสำหรับชิ้นงาน การประมวลผลแผ่นหลอดเป็นส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีหม้อไอน้ำและอื่น

  7. เครื่องเจาะกระแทก CNC (CNC Punching Machine) สำหรับตัดและเจาะแผ่นโลหะให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ โดยใช้ทูล (Tool) กระแทกแผ่นให้ขาด

  8. เครื่องพับแผ่นโลหะ CNC (CNC Press Brake หรือ Bending Machine) สำหรับพับแผ่นโลหะให้เป็นรูปทรง 3 มิติ หรือรูปทรงอื่นตามความต้องการ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

    • เครื่องพับแบบ Brake เป็นเครื่องพับที่สามารถพับขอบของโลหะแผ่นไม่จำกัดความลึกในการพับ เพราะสามารถสอดแผ่นโลหะผ่านไปด้านหลังได้ ส่วนมากแล้วจะใช้พับโลหะแผ่นที่มีความลึกมากๆ

    • เครื่องพับแบบ Folder เป็นเครื่องพับที่พับขอบได้ลึกไม่มากนัก เพราะด้านหลังจะมีตัวปรับระยะพับติดตั้งและกั้นอยู่

          ซึ่งแนวโน้มของอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ใช้เครื่องจักร CNC เริ่มมีความต้องการที่สูงมากขึ้นและในขณะเดียวก็เริ่มที่จะพัฒนาเครื่องจักรชนิดนี้ให้ติดตั้งมาพร้อมกับหุ่นยนต์ เพื่อความแม่นยำและรวดเร็วในการผลิตสินค้าออกสู่ตลาดให้มากขึ้นและทันท่วงทีต่อความต้องการในตลาด

          โดยในบทความของ Toolmakers ที่เป็นแพลตฟอร์มบทความออนไลน์สำหรับผู้ผลิตในอุตสาหกรรมเครื่องมือและแม่พิมพ์ ได้รวบรวมรายงานข่าวสาร รวมถึงกรณีศึกษา การสำรวจวิจัยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ได้ให้แนวโน้มของการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้เครื่องจักรหรือเครื่องกลึง CNC สำหรับอนาคตไว้ 4 ประการ ดังนี้

  1. การใช้เครื่องจักร CNC ที่ใช้ในการผลิตเพื่อบริการ Manufacturing as a Service (MaaS) โดยมีเครื่องจักร CNC ตั้งอยู่ในตำแหน่งศูนย์กลาง และมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการใช้งาน โดยจะกระจายการบริการรับผลิตนี้ไปกับสมาชิก ซึ่งการบริการรับผลิตโดยเครื่องจักรหรือเครื่องกลึง CNC นี้จะช่วยเพิ่มผลผลิตและประหยัดต้นทุนได้ เพราะมีค่าใช้จ่ายของแรงงานที่ลดลงผ่านการบริการของ (MaaS)

  2. การพัฒนาให้เครื่องจักร CNC มีเครือข่ายสามารถสื่อสารกันได้โดยไม่ต้องใช้คนควบคุม แต่เมื่อไม่นานมานี้ได้มีการค้นพบวิธีในการคำนวณความแม่นยำของอุตสาหกรรมการขึ้นรูปด้วยเครื่องจักร CNC ด้วยเทคโนโลยี IIoT (The industrial internet of things) ได้โดยไม่ต้องใช้คนควบคุมเครื่องจักร ที่ช่วยให้กระบวนการผลิตรวดเร็วขึ้น ปลอดภัยขึ้นและมีคุณภาพสูงขึ้น ทั้งยังยังกำลังค้นหาวิธีการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดของเสียในกระบวนการผลิตเพิ่มเติมอีกด้วย

  3. การใช้เครื่องจักร 6 แกนจะขยายตัวอย่างรวดเร็ว ความจริงนั้นเครื่องเครื่องกัด CNC แบบ 6 แกน เริ่มมีการนำมาใช้แล้วตั้งแต่ปี 2019 แต่อาจะยังไม่ได้ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายมากนัก เพราะในอุตสาหกรรมส่วนใหญ่นิยมใช้เครื่อง 3 แกนอยู่ เพราะเป็นเครื่องจักรที่ใช้งานง่าย ต่อมาเริ่มมีการนิยมใช้เครื่องจักรแบบ 5 แกนที่สามารถหมุนรอบแกน X และ Y ได้อย่างราบรื่น แต่ด้วยข้อดีของเครื่องจักรแบบ 6 แกนเข้ามา ที่สามารถหมุนรอบแกน Z เพิ่มขึ้นมาอีกแกน ทำให้เวลาในการตัดชิ้นงานเร็วขึ้นอย่างมาก ก็เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น ฉะนั้นในอนาคตอันใกล้นี้ อุตสาหกรรมต่างๆ ก็น่ามีความต้องการและหันมาใช้เครื่องจักรแบบ 6 แกนกันมากขึ้นนั่นเอง

  4. อุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ จะเริ่มมุ่งเน้นการลดของเสียในการผลิตมากขึ้น เมื่อทรัพยากรเป็นสิ่งมีค่าและมีมูลค่า ฉะนั้นเหล่าเจ้าของธุรกิจใดๆ ก็ต้องหันมาใช้เริ่มมาใช้วัสดุหรือทรัพยากรในการผลิตให้ฉลาดและคุ้มค่ามากที่สุด โดยการสร้างแบบจำลองขนาดของส่วนประกอบโดยใช้วิธีการพิมพ์ 3 มิติแทนที่จะทดลองทำจริงบนเครื่องจักรหรือเครื่องกลึง CNC นั่นเอง


สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่


เครื่องกลึง CNC เหมาะกับอุตสาหกรรมใดหรือผลิตสินค้าลักษณะใดบ้าง?

          อย่างที่ทราบดีว่าข้อดีของเครื่องจักรหรือเครื่องกลึง CNC คือความรวดเร็ว แม่นยำ และให้ความละเอียดในชิ้นงานได้สูง อีกทั้งยังสามารถทำงานได้หลายๆ เครื่องพร้อมกันจึงสามารถผลิตชิ้นงานได้จำนวนมากในระยะเวลาการทำงานที่สั้นลง อีกทั้งแนวโน้มของความต้องการในการผลิตชิ้นงานจากเครื่องจักรCNC ของทั่วโลกมีเพิ่มมากขึ้น ฉะนั้นในบทความนี้จึงขอยกตัวอย่างของอุตสาหกรรมต่างๆ ที่นิยมใช้ เครื่องกลึง CNC ผลิตสินค้าต่างๆ ดังนี้

  1. การผลิตอุปกรณ์เครื่องจักรกล : เพราะการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเครื่องจักรกลมีความต้องการใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่ ฉะนั้นในกระบวนการผลิตเครื่องจักรกลเหล่านี้จึงต้องมีเครื่องมือเครื่องจักรความสามารถในการควบคุมและเมคคาทรอนิกส์ ซึ่งเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ของCNC มีศักยภาพในการควบคุมเครื่องจักรที่ดี ที่สามารถสั่งการและควบคุมการตัดเฉือนของเครื่องมือเครื่องจักรด้วยความแม่นยำสูงได้

  2. การผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ : นับตั้งแต่การเกิดขึ้นของรถยนต์ที่มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่สิบเก้า ซึ่งได้รับความนิยมไปทั่วโลกจนเกิดเป็นอุตสาหกรรมผลิตยานยนต์ขนาดใหญ่ เพราะมีความต้องการของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยข้อมูลการผลิตทั่วโลกในปี 2561 พบว่ายอดขายรวมทั่วโลกของรถยนต์นั้นมีมากถึง 81.5 ล้านคัน เมื่อมีความต้องการสูงขึ้น การผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์จึงต้องมีการพัฒนาให้มีเครื่องจักรที่ช่วยให้การผลิตมีคุณภาพดีมากขึ้นและรวดเร็วยิ่งขึ้น

    ซึ่ง เครื่องจักรหรือเครื่องกลึง CNC จึงเข้ามามีส่วนในการผลิต โดยชิ้นส่วนรถยนต์บางประเภทมีกระบวนการของการขึ้นรูปด้วยระบบคอมพิวเตอร์ แล้วส่งไปยังเครื่องมือต่างๆ ที่ถูกโปรแกรมไว้แล้ว เช่น เครื่องกลึง, เครื่องบด หรือการเครื่องตัดที่สามารถให้ความแม่นยำมากกว่าการตัดเฉือนทั่วๆ ไป โดยเราสามารถแบ่งประเภทของชิ้นส่วนรถยนต์ที่ผลิตจากเครื่องจักรหรือเครื่องกลึง CNC ได้ดังนี้

    • เครื่องยนต์ : เช่น บล็อกอะลูมิเนียมขนาดใหญ่ สามารถถูกตัดเป็นบล็อกกระบอกสูบของเครื่องยนต์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นและลง

    • หัวสูบ : ชิ้นส่วนที่ล้อมรอบกระบอกสูบเหนือบล็อกกระบอกสูบ ก็มักจะผลิตโดยใช้เทคนิคการตัดเฉือนจากเครื่องจักร CNC

    • โคมไฟ : ข้อดีอีกหนึ่งประการของเครื่องจักรหรือเครื่องกลึง CNC คือสามารถใช้งานกับวัสดุที่หลากหลายได้มากกว่าโลหะชนิดต่างๆ เช่น กระจก, แก้ว, โพลีหรืออะคริลิก ฯลฯ ได้

      ซึ่งโพลี หรือเรียกชื่อเต็มๆ ได้ว่า Polymethyl Methacrylate (PMMA) หรือก็คืออะคริลิกชนิดหนึ่ง ที่เป็นเม็ดพลาสติกสีใส มีความแข็งแรงทนทานต่อทุกสภาพอากาศ จึงเหมาะสำหรับนำมาผลิตเป็นโคมไฟของรถยนต์ โดยในกระบวนการตัดเฉือน PMMA นั้นจะต้องมีขั้นตอนของการเจียระไนและขัดผิวหลัง ฉะนั้นการผลิตขึ้นรูปโคมไฟจากเครื่องจักร CNC จะช่วยกระบวนหลากหลายขั้นตอนนี้สำเร็จได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

  3. ชิ้นงานสลักสำหรับทำป้ายต่างๆ : ไม่ว่าจะเป็นป้ายไม้ ป้ายอะคริลิคติดไฟ ป้ายอะลูมิเนียมที่สลักโลโก้หรือสัญลักษณ์ต่างๆ งานไม้แกะสลัก งานหน้าจั่วแกะสลัก งานแม่พิมพ์ (Mold/Block) รวมไปถึงงานภาพนูนสูงและต่ำ

  4. ชิ้นงานตัดเครื่อใช้ไฟฟ้าหรือเฟอร์นิเจอร์ : เช่น แผ่นหน้าตู้ลำโพง ชิ้นส่วนเครื่องเสียง ตัดส่วนประกอบเฟอร์นิเจอร์ ทำตู้ โต๊ะ ชั้นเก็บของต่างๆ

  5. ชิ้นงานเจาะ : เช่น แผ่นฝาที่มีรูสำหรับใส่สกรู แผ่นตะแกรง หรือแผงระแนงรูระบายความร้อน เป็นต้น

          ทั้งหมดนี้คือคุณประโยชน์และความสามาถต่างๆ ของเครื่องจักรหรือเครื่องกลึง CNC ที่หลายอุตสาหกรรมต่างยอมรับและมีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมใช้สูงขึ้นมากเรื่ยๆ ในอนาคต และหากว่าคุณกำลังมองหาโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่ดีมีมาตรฐาน บริษัท สยาม เมทัล เวอร์ค แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด คือ โรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ผลิตชิ้นส่วนโลหะชั้นนำของไทย ทั้งอุปกรณ์การผลิต โลหะ ปั๊มโลหะตามแบบ ปั๊มขึ้นรูปโลหะ ปั๊มเหล็ก ปั๊มโลหะ ชิ้นส่วนโลหะ ชิ้นงานโลหะ Die, Jig ต่างๆ ตามแบบและมาตรฐานที่ลูกค้ากำหนด และแน่นอนว่าเราใช้ เครื่องจักรหรือเครื่องกลึง CNC ในการผลิตชิ้นงานต่างๆ ที่ได้มาตรฐานการรับรอง โดย ISO 9001 : 2015 IATF 16949 : 2016 และได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ

 

ดูรายละเอียดสินค้าและบริการ รวมถึงเครื่องจักรของเรา ได้ที่นี่ 
ติดต่อ บริษัท สยาม เมทัล เวอร์ค แมนูแฟคเจอริ่ง
โทร : 02-1166303
อีเมล : info@siammetalwork.com

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้