ความแตกต่างของงานปั๊มขึ้นรูปชิ้นส่วนโลหะกับงานหล่อโลหะ

16334 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ปั๊มขึ้นรูปชิ้นส่วนโลหะ

ความแตกต่างของงานปั๊มขึ้นรูปชิ้นส่วนโลหะกับงานหล่อโลหะ

ทำความรู้จักการปั๊มขึ้นรูปชิ้นส่วนโลหะกับงานหล่อโลหะ


     ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตบางครั้งอาจจะต้องใช้ชิ้นงานที่มีรูปทรงที่หลากหลายแตกต่างกันไปตามความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องจักรกล หรือการผลิตชิ้นส่วนโลหะ สำหรับเป็นส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้าหรือแม้กระทั่งยานพาหนะชนิดต่างๆ เช่น รถยนต์ หรือ เครื่องบิน ล้วนมีชิ้นงานโลหะที่ต้องอาศัย 2 กระบวนการสำคัญคือ การปั๊มขึ้นรูปและการหล่อโลหะ ความจริงแล้ว การปั๊มขึ้นรูปโลหะและการหล่อโลหะนั้น เป็นงานขึ้นรูปโลหะตามแบบที่ลูกค้าต้องการเช่นเดียวกัน อย่างในรถยนต์หนึ่งคัน

     คุณรู้หรือไม่ว่ามีชิ้นส่วนโลหะที่ขึ้นรูปด้วยการปั๊มและการหล่ออยู่ในรถคันเดียวกัน เพราะถึงแม้ 2 กระบวนการนี้จะนำผลลัพธ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ได้คล้ายกัน แต่ความจริงแล้วการปั๊มและการหล่อโลหะนั้น มีข้อแตกต่างกันอยู่มาก ทั้งกระบวนการผลิตและความเหมาะสมของการเลือกวิธีการกับวัสดุหรือชิ้นงานที่ต้องการด้วย ฉะนั้นในบทความนี้ เราจะพาคุณมาทำความรู้จักกับ 2 กระบวนการผลิตชิ้นส่วนโลหะ ทั้งการปั๊มขึ้นรูปและการหล่อโลหะ ดังต่อไปนี้

 

“งานปั๊มขึ้นรูปโลหะ” คืออะไร?

     การปั๊มขึ้นรูปวัสดุที่เป็นโลหะ (Metal Forming Process) นั้น เป็นกระบวนการผลิตชิ้นงานตามรูปทรงต่างๆ ที่ต้องการ โดยใช้แม่พิมพ์หรือเครื่องมือเฉพาะ ที่ทำได้ทั้ง งานตัด, งานพับหรือเจาะรู โดยไม่ได้เปลี่ยนสถานะของวัสดุเหมือนกับวิธีการหล่อ ส่วนใหญ่แล้วลักษณะของชิ้นงานจะมีรูปทรงที่มีความแบนกว่าการหล่อโลหะ

     โดยชิ้นงานจะมีความหนาได้ไม่เกิน 5-8 เซ็นติเมตร และสูงได้ไม่เกิน 10 เซ็นติเมตร ส่วนวัสดุที่นิยมนำใช้สำหรับงานปั๊มขึ้นรูปโลหะ ส่วนใหญ่จะได้แก่ เหล็ก, สเตนเลส และสังกะสี เป็นต้น
ภายหลังจากการกระบวนการสกัด การหล่อและบดอัดผงโลหะ ซึ่งเมื่อผ่านการขึ้นรูปโลหะจากโรงงานผลิตแล้ว ก็จะส่งมายังกระบวนการปั๊มขึ้นรูป จากนั้นจึงนำไปเจียร ขัดและทาสีตามลำดับ จนได้ชิ้นส่วนโลหะ ตามท่ีลูกค้าต้องการเพื่อนำไปเป็นโครงสร้างหรือชิ้นส่วนของรถยนต์ เครื่องจักรกลหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ได้ นั่นเอง

ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว งานปั๊มขึ้นรูปสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทคือ
  • การปั๊มขึ้นรูปแบบร้อน (Hot Working) คือ กระบวนการที่ใช้ความร้อนทำให้รูปร่างของโลหะเป็นไปตามรูปทรงที่ต้องการ ซึ่งข้อดีของการปั๊มขึ้นรูปโลหะแบบร้อนนี้ จะช่วยให้เนื้อโลหะมีความหนาแน่นเพิ่มขึ้น แต่ช่วยลดความพรุ่น ของเนื้อโลหะลงได้ อีกทั้งยังทำให้สารมลทินที่ปนเปื้อนอยู่ในโลหะแตกและกระขายตัวไปในเนื้อโลหะอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นผลทำให้โลหะมีคุณสมบัติดีขึ้นนั่นเอง

    การปั๊มขึ้นรูปโลหะแบบร้อน มีด้วยกันหลายวิธี เช่น การตีขึ้นรูป (Forging), การรีดร้อน (Hot Rolling), การแทงขึ้นรูป (Piercing), การเชื่อม (Welding), การดึงและกดขึ้นรูป (Drawing & Cupping) และการหมุนขึ้นรูป (Spinning) เป็นต้น

  • การปั๊มขึ้นรูปแบบเย็น (Cold Working) ก็คือกระบวนการที่ตรงกันข้ามกับการปั๊มขึ้นรูปแบบร้อน เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปร่างหรือรูปทรงของโลหะด้วยอุณหภูมิที่ต่ำ ประมาณ 20-25 องศาเซลเซียส โดยไม่ได้ทำให้โลหะเกิดผลึกใหม่ ข้อดีของการปั๊มขึ้นรูปโลหะแบบเย็น คือ ช่วยประหยัดพลังงานและวัตถุดิบ เพราะชิ้นงานโลหะไม่ได้ถูกเฉือนออกไป แต่เนื่องจากวิธีการนี้จะต้องใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ที่ต้องมีความเสถียรสูง ฉะนั้น ต้นทุนในการผลิตด้วยกระบวนการนี้อาจจะมีราคาค่อนข้างสูง หากไม่ได้จ้างโรงงานผลิตชิ้นส่วนโลหะ ด้วยกระบวนการนี้จำนวนเยอะๆ เพื่อให้ลดต้นทุนต่อชิ้นลง นั่นเอง

    วิธีปั๊มขึ้นรูปโลหะแบบเย็น มีด้วยกันหลายวิธี เช่น การดัดงอ (Bending) การรีดเย็น (Cold Rolling) การอัดรีด (Extruding) การบิดงอ (Squeezing) การรีดขึ้นรูป (Shear Spinning) การตัดยึด (Stretching) การงอตรง (Straight Bending) การตีขึ้นรูป (Shot Peening) การขึ้นรูปพิมพ์ลึก (Deep Drawing) การกระแทกขึ้นรูป (Forging) การแทงขึ้นรูป (Hobbing) เป็นต้น

นอกจากนั้น ปั๊มขึ้นรูปโลหะ สามารถแบ่งตามลักษณะของวัตถุดิบ ได้อีก 2 แบบคือ งานปั๊มโลหะแผ่นและโลหะก้อน ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้


  • งานปั๊มโลหะแผ่น คือการผลิตชิ้นงานจากแผ่นโลหะชนิดต่างๆ เช่น เหล็ก, สแตนเลส, อะลูมิเนียม หรือทองเหลือง ที่ผ่านกระบวนการรีดให้บาง ซึ่งจะมีความหนาไม่เกิน 6 มม. ด้วยการตัดหรือเฉือน ด้วยการใช้แม่พิมพ์ปั๊มให้เป็นรูปร่างชิ้นส่วนที่ต้องการ เพื่อนำไปใช้งานในกระบวนการต่อไป เช่น การพับหรือการลากขึ้นรูป

  • งานปั๊มโลหะก้อน มีกระบวนการที่สามารถทำได้ ดังนี้คือ การทุบ (การตีขึ้นรูปด้วยวิธีการนี้จะใช้แบบดายที่มีลักษณะเป็นแบบดายปิด ซึ่งมักจะใช้ในการผลิตชิ้นส่วนโลหะ ที่เป็นบ่าหรือขอบ, การอัดรีด (กระบวนการนี้ชิ้นงานจะถูกบีบอัดหรือดันเข้าไปในช่องเปิดของแม่พิมพ์แบบdie และถูกผลักออกโดยใช้เครื่องอัดแบบไฮดรอลิก ซึ่งพื้นผิวหน้าตัดของชิ้นงานจะขึ้นอยู่กับดายที่ใช้นั่นเอง) และการรีด (จะเป็นกระบวนการลดความหนาของวัสดุ โดยอาศัยแรงกดจากลูกรีด) นอกจากนั้น ยังมีกระบวนการอื่นๆ อีกเช่น การปั๊มนูน, การบีบอัด, การฝานหรือการตัดขอบ เป็นต้น

“งานหล่อโลหะ” คืออะไร?

     งานหล่อโลหะ (Casting Process) คือการขึ้นรูปชิ้นงานอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งมีกระบวนการสำคัญที่มีการเปลี่ยนสถานะวัตถุดิบอย่างโลหะต่างๆ จากของแข็งเป็นของเหลว โดยการทำโลหะมาหลอมด้วยอุณหภูมิที่สูง จากนั้นนำมาเทเข้าสู่แม่พิมพ์ และเมื่อโลหะแข็งตัวแล้วก็จะได้ชิ้นงานตามที่ต้องการนั่นเอง ถึงจะนำเอาชิ้นงานมาตกแต่งจนได้ชิ้นงานเพื่อนำไปใช้งาน ซึ่งส่วนใหญ่จะเลือกใช้วิธีการนี้กับชิ้นงานที่มีรูปทรง 3D คือ มีความกว้าง ความหนา และความลึกที่มากกว่าการขึ้นรูปแบบงานปั๊ม

     ซึ่งกระบวนการหล่อโลหะนี้ จะเป็นเสมือนทางเลือกของผู้ผลิตชิ้นส่วนโลหะ ที่ไม่สามารถขึ้นรูปชิ้นงานได้ด้วยวิธีการปั๊ม, การเชื่อมหรือการกลึง ส่วนขนาดของชิ้นงานที่ใช้กรรมวิธีในการหล่อโลหะนี้ จะมีตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่และน้ำหนักมากเป็นหลายๆ ตัน
กรรมวิธีการหล่อนั้น นับว่าเป็นกระบวนการเก่าแก่ที่ทำสืบต่อกันมาเป็นพันๆ ปี ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นงานประติมากรรม, เครื่องประดับและอาวุธ เมื่อเวลาผ่านไปการหล่อได้ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น ทั้งในโซนยุโรปและเอเชียเป็นอย่างมาก

โดยเฉพาะการหล่อโลหะซึ่งนับว่ามีอิทธิพลกับงานอุตสาหกรรมในการผลิตชิ้นส่วนโลหะ อะไหล่และเครื่องมือต่างๆ รวมถึง ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องบิน, รถไฟ, เครื่องมือแพทย์ ไปจนถึงผลิตกังหันลมในโรงงานนิวเคลียร์



โดยการหล่อโลหะ สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

  • การหล่อในแบบหล่อทราย
  • การหล่อในแบบหล่อเซรามิก
  • การหล่อในแบบหล่อโลหะ
  • การหล่อแบบฉีดหรือไดคาสท์ (Die Casting)
  • การหล่อเหวี่ยง
  • การหล่อในแบบหล่อทรายเปลือกบาง


     ส่วนขั้นตอนการกระบวนการหล่อโลหะนั้น จะต้องเริ่มจากการสร้างแม่พิมพ์ตามรูปแบบที่ต้องการก่อน จากนั้นจึงทำแบบหล่อและไส้แบบ เมื่อหลอมโลหะเรียบร้อยจึงเทน้ำโลหะลงแบบหล่อ เมื่อโลหะแข็งตัวแล้วแยกชิ้นงานที่ได้ออกจากแบบหล่อ และตกแต่งชิ้นงานให้เรียบร้อย ก็เป็นอันจบขั้นตอนของการหล่อโลหะ

     ถึงแม้จะกูว่าขั้นตอนน้อยและเหมือนจะง่าย แต่ความจริงแล้วกระบวนการหล่อนั้นจะต้องอาศัยความเข้าใจการเย็นตัวและการหดตัวของโลหะเป็นอย่างดี ฉะนั้น ช่างเทคนิคที่ทำงานในการผลิตชิ้นส่วนโลหะจากการหล่อ จะต้องมีความชำนาญการเป็นอย่างดี ถึงจะสามารถผลิตชิ้นงานออกมาให้มีคุณภาพและตรงตามความต้องการได้

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่


ข้อดีของ “งานหล่อโลหะ” มีอะไรบ้าง?

✔ กรรมวิธีการหล่อโลหะนั้น สามารถผลิตชิ้นงานได้หลากหลายรูปแบบตามความต้องการได้แม้จะมีรูปทรงที่ค่อนข้างซับซ้อน ทั้งขนาด น้ำหนัก
✔ มีความแม่นยำของขนาดค่อนข้างสูง ชิ้นงานมีความสวยงามเพราะมีความหนาแน่นที่สม่ำเสมอ
✔ สามารถได้ชิ้นงานที่ต้องการในขั้นตอนเดียวเลย จึงทำให้ช่วยให้ลดต้นทุนการผลิตได้นั่นเอง

 

ความแตกต่างของงานปั๊มขึ้นรูปโลหะ VS งานหล่อโลหะ สามารถแบ่งได้ 2 ส่วน ดังนี้

     กรรมวิธีที่แตกต่างกัน โดยการปั๊มขึ้นรูปนั้น มีวิธีการที่ใช้ได้ทั้งความร้อนและความเย็น ในขึ้นรูปชิ้นงานตามรูปทรงต่างๆ ที่ต้องการ โดยใช้แม่พิมพ์ในการตัด,พับหรือเจาะรู โดยไม่ได้เปลี่ยนสถานะของวัตถุดิบ ในขณะที่การหล่อขึ้นรูปนั้น จะต้องใช้การหลอมด้วยความร้อนเพียงอย่างเดียว และเปลี่ยนสถานะของวัตถุดิบ ลักษณะของชิ้นงานที่เป็น ชิ้นส่วนโลหะ ที่ได้นั้นจะมีความแตกต่างกัน

โดยการปั๊มขึ้นรูปโลหะจะมีความบางและรูปทรงที่ซับซ้อนน้อย ส่วนการหล่อโลหะ สามารถผลิตชิ้นงานที่มีรูปทรง 3D ที่มีความหนา กว้าง ลึก ที่มากกว่าและซับซ้อนได้มากกว่า
หากคุณกำลังมองหาบริษัทที่สามารถผลิตชิ้นส่วนโลหะที่มีคุณภาพให้คุณได้ บริษัท สยาม เมทัล เวอร์ค แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด เราคือผู้นำด้าน โรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ผลิตชิ้นส่วนโลหะ ปั๊มขึ้นรูปโลหะ คุณภาพมาตรฐาน ชั้นนำของไทย

 

ดูรายละเอียดสินค้าและบริการ รวมถึงเครื่องจักรของเรา ได้ที่นี่
ติดต่อ บริษัท สยาม เมทัล เวอร์ค แมนูแฟคเจอริ่ง
โทร : 02-1166303
อีเมล : info@siammetalwork.com
Facebook : Siam Metal Work Manufacturing Co.,Ltd.
Line : @siammetalwork

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้